เมนู

สั่งสมในภพนี้ จะให้ผลในภพนี้นั่นแหละ กรรมนั้นย่อมมีอยู่ ชื่อว่ากัมมวิบาก
ก็มีอยู่ กรรมใดย่อมปรากฏเป็นอวิบากโดยนัยก่อนนั่นแหละ กรรมนั้นมีอยู่
ชื่อว่ากัมมวิบากย่อมไม่มี. กรรมใดอันสั่งสมแล้วในภพนี้จักให้ผลในอนาคต
กรรนนั้นมีอยู่ ชื่อว่ากัมมวิบากจักมี. กรรมใดจักถึงความเป็นอวิบากโดยนัย
ก่อนนั่นแหละ กรรมนั้นมีอยู่ ชื่อว่ากัมมวิบากจักไม่มี. กรรมใดแม้ตัวเองเป็น
อนาคต แม้วิบากของกรรมนั้นก็เป็นอนาคต กรรมนั้นจักมีชื่อว่ากัมมวิบากก็
จักมี. กรรมใดตัวเองจักมี จักถึงความเป็นอวิบาก (ไม่ให้ผล) โดยนัยก่อน
นั่นแหละ กรรมนั้นจักมีชื่อว่ากัมมวิบากจักไม่มี.
คำว่า อิทํ ตถาคตสฺส (แปลว่า นี้เป็นกำลังของพระตถาคต) นี้
บัณฑิตพึงทราบ ญาณเครื่องกำหนดรู้ความแตกต่างแห่งกรรมและวิบากของ
พระตถาคต โดยอาการแม้ทั้งปวงเหล่านั้นชื่อว่าเป็นกำลังข้อที่ 2 เพราะอรรถว่า
ไม่หวั่นไหว ดังนี้.
นิทเทสแห่งกำลังที่สอง จบ

อธิบายญาณอันเป็นกำลังข้อที่ 3


คำว่า ทาง (มรรค) หรือว่า ปฏิปทา นี้ เป็นชื่อของกรรมนั่นแหละ.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า นิรยคามินี (แปลว่า ไปสู่นรก) เป็นต้น ชื่อว่า
นรก เพราะอรรถว่าที่เป็นที่ไม่ชอบใจ และเพราะอรรถว่าที่เป็นที่อันหาความ
ยินดีมิได้. ชื่อว่า เดรัจฉาน เพราะอรรถว่า เคลื่อนไหวอัตภาพไปตาม
ขวาง ไม่เหยียดตรงขึ้นไป. เดรัจฉานนั่นแหละ ชื่อว่า กำเนิดสัตว์เดรัจ-
ฉาน.
ชื่อว่า เปรต (ปิตติ) เพราะความเป็นผู้ละไปแล้ว อธิบายว่า เพราะ
ความที่ตนละโลกนี้ไปแล้ว. เปรตนั่นแหละ ชื่อว่า ปิตติวิสัย.

ชื่อว่า มนุษย์ เพราะความเป็นผู้มีใจสูง. มนุษย์นั่นแหละ ชื่อว่า
มนุษยโลก ชื่อว่า เทวะ (เทพ) เพราะอรรถว่า ย่อมรื่นเริงมีประมาณ
มากมายด้วยเบญจกามคุณ หรือว่าด้วย สมบัติเป็นเหตุ. เทวะ (เทพ) นั่นแหละ
ชื่อว่า เทวโลก. ตัณหา พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสเรียกว่า วานะ
(เครื่องร้อยรัด ) วานะนั้น ย่อมไม่มีในที่นั้น เพราะเหตุนั้น ที่นั้น
จึงชื่อว่า นิพพาน.
ชื่อว่า (ทาง) ไปสู่นรก เพราะอรรถว่าย่อมเคลื่อน
ไปสู่นรก. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาทางนี้. แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้.
พระตถาคต ย่อมทรงทราบปฏิปทาแม้ทั้งปวงนี้ อย่างไร. ?
ก็เมื่อชนทั้งหลายแม้อยู่ในบ้านทั้งสิ้น ร่วมกันปลงสุกรตัวหนึ่ง หรือ
เนื้อตัวหนึ่งลงจากชีวิต (ฆ่า) เจตนาแม้ของชนทั้งหมด ย่อมมีชีวิตนทรีย์ของ
สัตว์อื่นเป็นอารมณ์ทุกคน แต่ว่ากรรมนั้น ของบุคคลเหล่านั้นย่อมแตกต่าง
กัน ในเพราะความพยายามนั่นแหละ. เพราะว่า ในชนเหล่านั้น คนหนึ่ง
มีความพอใจเกิดขึ้นแล้ว ย่อมทำการฆ่าด้วยความเอาใจใส่. คนหนึ่งย่อมกระ-
ทำ เพราะถูกผู้อื่นบีบคั้นด้วยคำว่า เธอจงมา เธอจงทำการฆ่า ดังนี้. คน
หนึ่งไม่ขัดขวางการฆ่าอยู่ เที่ยวไป เป็นราวกะว่า มีความพอใจด้วย (เสมอ
กัน). ในชนเหล่านั้น คนหนึ่งย่อมเกิดในนรกด้วยกรรมนั้นนั่นแหละ. คนหนึ่ง
ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน. คนหนึ่งย่อมเกิดในปิตติวิสัย (กำเนิดเปรต).
พระตถาคต ย่อมทรงทราบว่า ผู้นี้จักเกิดในนรก ผู้นี้จัก
เกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ผู้นี้จักเกิดในปิตติวิสัย เพราะความที่
บุคคลนั้น พยายามแล้วด้วยกิริยาอาการนี้ ในขณะแห่งความเพียรนั่น
แหละ ดังนี้. ย่อมทรงทราบว่า บรรดาบุคคลทั้งหลายแม้เมื่อจะเกิด
ในนรก ผู้นี้จักเกิดในมหานรก 8 ขุม ผู้นี้จักเกิดในอุสสัททะ (นรก

ที่เบียดเสียดยักเยียด) 16 ขุม ดังนี้ ย่อมทรงทราบว่า แม้บรรดาผู้จะไป
เกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ผู้นี้จักเป็นสัตว์ไม่มีเท้า ผู้นี้จักเป็นสัตว์
2 เท้า ผู้นี้จักเป็นสัตว์ 4 เท้า ผู้นี้จักเป็นสัตว์มีเท้ามาก ดังนี้ ย่อม
ทรงทราบว่า แม้ผู้จะไปเกิดในปิตติวิสัย ผู้นี้จักเป็นนิชฌามตัณหิก-
เปรต (เปรตผู้ถูกความอยากเผาผลาญ) ผู้นี้จักเป็นขุปปิปาสิกเปรต
(เปรตผู้หิวกระหาย) ผู้นี้จักเป็นปรทัตตูปชีวีเปรต (เปรตผู้อาศัย
ทานของผู้อื่นเลี้ยงชีวิต) ดังนี้. ย่อมทรงทราบว่า ในบรรดากรรม
เหล่านั้น กรรมนี้จักไม่อาจคร่ามาซึ่งปฏิสนธิ (คือให้ปฏิสนธิ ) กรรม
นี้มีกำลังทรามจักมีผลผูกพันเพราะปฏิสนธิอันกรรมอื่นให้แล้ว ดังนี้.

อนึ่ง บรรดาชนทั้งหลาย ผู้อยู่ในบ้านทั้งสิ้น ร่วมกัน ถวายอาหาร
บิณฑบาตก็เหมือนกัน คือว่าเจตนาของชนแม้ทั้งหมดเหล่านั้น ย่อมมีอาหาร
บิณฑบาตเป็นอารมณ์ทั้งนั้น. แต่ว่า กรรมนั้น ของบุคคลเหล่านั้น ย่อม
แตกต่างกันโดยนัยก่อนนั่นแหละ ในขณะแห่งความพยายาม. ในชนเหล่านั้น
บางคน (บางพวก) ย่อมเกิดในเทวโลก บางคนย่อมเกิดในมนุษยโลก.
พระตถาคต ย่อมทรงทราบว่า บุคคลผู้นี้จักเกิดในมนุษยโลก
ผู้นี้จักเกิดในเทวโลก เพราะความที่ผู้นั้น พยายามแล้ว ด้วยกิริยา
อาการนี้ ในขณะแห่งความเพียรนั่นแหละ ดังนี้.

ย่อมทรงทราบว่า แม้บรรดาผู้ที่จะเกิดในเทวโลก ผู้นี้จักเกิด
ในปรนิมมิตวสวัตดีทั้งหลาย (ชั้น 6) ผู้นี้จักเกิดในนิมมานรดีทั้ง-
หลาย (ชั้น 6) ผู้นี้จักเกิดในดุสิตทั้งหลาย (ชั้น 4) ผู้นี้จักเกิดใน
ยามาทั้งหลาย (ชั้น 3) ผู้นี้จักเกิดในดาวดึงส์ทั้งหลาย (ชั้น 2) ผู้
นี้จักเกิดในจาตุมหาราชิกาทั้งทลาย (ชั้น 1) ผู้นี้จักเกิดในภุมมเทพ
ทั้งหลาย ย่อมทรงทราบว่า ผู้นี้จักเกิดเป็นเทวราชผู้ประเสริฐสุด
ผู้นี้จักเกิดเป็นผู้รับใช้มีตำแหน่งที่ 2 ที่ 3 ของเทวราชนั้น.

ย่อมทรงทราบว่า แม้บรรดาผู้ที่จะเกิดในมนุษย์ทั้งหลาย ผู้
นี้จักเกิดในขัตติยตระกูล ผู้นี้จักเกิดในตระกูลพราหมณ์ ...ในตระกูล
พ่อค้า (แพศย์)... ในตระกูลศูทร.

ย่อมทรงทราบว่า บรรดามนุษย์ทั้งหลาย ผู้นี้จักเกิดเป็น
พระราชา ผู้นี้จักเกิดเป็นผู้รับใช้พระราชาซึ่งมีตำแหน่งที่ 2 หรือ 3
ดังนี้.

ย่อมทรงทราบว่า บรรดากรรมเหล่านั้น กรรมนี้จักไม่อาจ
เพื่อคร่ามาซึ่งปฏิสนธิ (ให้กำเนิด) กรรมนี้มีกำลังทราม จักให้ผล
ผูกพัน เพราะปฏิสนธิอันกรรมอื่นให้แล้ว ดังนี้.

อนึ่ง เมื่อบุคคลเหล่านั้น เริ่มตั้งวิปัสสนาอยู่นั่นแหละ และมีวิปัสสนา
อันปรารภแล้วโดยกิริยาอาการอันใด
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า ผู้นี้จักบรรลุพระ-
อรหัต ผู้นี้จักไม่อาจเพื่อบรรลุพระอรหัต ผู้นี้จักเป็นพระอนาคามี
เท่านั้น ผู้นี้จักเป็นพระสกทาคามีเท่านั้น ผู้นี้จักเป็นพระโสดาบัน
เท่านั้น แต่บุคคลนี้จักไม่อาจเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งมรรคผล ผู้นี้จัก
ตั้งอยู่ในวิปัสสนาอันมีเพียงลักษณะเป็นอารมณ์ ผู้นี้จักตั้งอยู่ใน
ปัจจยปริคคหญาณ (ญาณที่กำหนดรู้ซึ่งปัจจัยเท่านั้น ) ผู้นี้จักตั้งอยู่
ในนามรูปปริตตญาณ (ญาณที่กำหนดรู้นามและรูป) เท่านั้น ผู้นี้
จักตั้งอยู่ในอรูปปริคคหญาณเท่านั้น ผู้นี้จักตั้งอยู่ในรูปปริคคหญาณ
เท่านั้น ผู้นี้จักกำหนดได้เพียงมหาภูตะเท่านั้น ผู้นี้ไม่อาจเพื่อกำหนด
อะไร ๆ ได้เลย ดังนี้.

แม้เมื่อพระโยคาวจรทั้งหลาย กระทำกสิณบริกรรมอยู่ พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า ก็กสิณบริกรรมของผู้นี้ จักเป็นไป

เพียงบริกรรมเท่านั้น จักไม่อาจเพื่อให้นิมิตเกิดขึ้น ผู้นี้จักอาจเพื่อ
ให้นิมิตเกิดขึ้น แต่จักไม่อาจเพื่อให้อัปปนาเกิดขึ้น ผู้นี้จักบรรลุ
อัปปนาแล้วกระทำฌานให้เป็นบาท เริ่มตั้งวิปัสสนา แล้วจักถือเอา
พระอรหัต ดังนี้ แล.

นิทเทสแห่งกำลังที่ 3 จบ

อธิบายกำลังข้อที่ 4


คำว่า ขนฺธนานตฺตํ (แปลว่า ความเป็นต่าง ๆ แห่งขันธ์) อธิบาย
ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบเหตุต่าง ๆ แห่งขันธ์ 5 อย่างนี้ว่า นี้
ชื่อว่า รูปขันธ์ ฯลฯ นี้ ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ ดังนี้. ในบรรดาขันธ์แม้
เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบความที่ขันธ์หนึ่ง ๆ แตกต่างกัน
อย่างนี้ คือ รูปขันธ์มีอย่างเดียว ฯลฯ รูปขันธ์มี 11 อย่าง เวทนาขันธ์มี
อย่างเดียว ฯลฯ เวทนาขันธ์มีมากอย่าง, สัญญาขันธ์มีอย่างเดียว ฯลฯ สัญญา-
ขันธ์มีมากอย่าง, สังขารขันธ์มีอย่างเดียว ฯลฯ สังขารขันธ์มีมากอย่าง วิญญาณ
ขันธ์มีอย่างเดียว ฯลฯ วิญญาณขันธ์มีมากอย่าง ดังนี้.
คำว่า อายตนนานตฺตํ (แปลว่า ความเป็นต่าง ๆ แห่งอายตนะ) นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบความแตกต่างกันแห่งอายตนะ อย่างนี้ว่า
นี้ ชื่อว่า จักขวายตนะ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ธัมมายตนะ ในอายตนะเหล่านั้น
กามาวจรมี 10 อายตนะ อายตนะอันเป็นไปในภูมิ 4 มี 2 อายตนะ ดังนี้.
คำว่า ธาตุนานตฺตํ (แปลว่า ความเป็นต่างกันแห่งธาตุ) อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบความต่างกันแห่งธาตุ อย่างนี้ว่า นี้ ชื่อว่า
จักขุธาตุ ฯลฯ นี้ ชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ. ในธาตุเหล่านั้นกามาวจรธาตุมี
16. ธาตุอันเป็นไปในภูมิ 4 มี 2 ธาตุ ดังนี้.